วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติปฏิทิน ตอนที่ 1

ปัจจุบันเราทุกคนรู้ดีว่า ปฏิทินมีประโยชน์มากเพียงใดในการบอกเวลาของวัน เดือน และปี ซึ่งเป็นเรื่องจำเป็นในการทำธุรกิจ การว่าจ้าง การกู้ยืม การเฉลิมฉลองเหตุการณ์สำคัญๆ ทางศาสนา ฯลฯ แต่ในสมัยโบราณ ซึ่งเป็นเวลาที่ผู้คนยังไม่มีปฏิทินใช้ การตอบคำถามเกี่ยวกับวัน เดือน และปี มิได้เป็นเรื่องง่ายเลย เพราะผู้คนใช้วิธีการนับสัปดาห์ เดือน และปีแตกต่างกัน

คำปฏิทินในภาษาไทยตรงกับคำ calendar ในภาษาอังกฤษ ซึ่งมีรากศัพท์มาจากคำ calends ในภาษาโรมันที่แปลว่า วันแรกของเดือน การศึกษาประวัติความเป็นมาของปฏิทินทำให้เราทุกวันนี้รู้ว่ามนุษย์ในสมัยโบราณใช้ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ ปรากฏการณ์น้ำหลาก ดาว ฯลฯ ในการกำหนดวัน เดือน และปี เช่น นับระยะเวลาที่เห็นดวงอาทิตย์ขึ้นในแต่ละครั้งว่านาน 1 วัน และให้ถือว่า 1 เดือนคือ เวลาที่ดวงจันทร์ใช้ในการโคจรรอบโลก 1 ครั้ง และ 1 ปีคือเวลาที่โลกใช้ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์ 1 ครั้ง เป็นต้น

การมีชีวิตอยู่ในสถานที่ที่แตกต่างกัน และมีวัฒนธรรมความเชื่อที่ไม่เหมือนกัน ทำให้คนโบราณในหลายประเทศต่างก็มีปฏิทินของตนเองใช้ เช่น ปฏิทิน Aztec, Islam, Persia, Egypt, Bahai, Hebrew, Maya, French, Chinese, Gregory และ Julian เป็นต้น ซึ่งปฏิทินเหล่านี้มีจำนวนวันในแต่ละเดือน และจำนวนเดือนในแต่ละปีแตกต่างกัน เช่น ชาว Sumerian ที่เคยอาศัยอยู่ใน Mesopotamia เมื่อ 5,500 ปีก่อน ได้กำหนดให้วันขึ้น 1 ค่ำ เป็นวันแรกของเดือน ให้ 1 เดือนนาน 29.5 วัน และให้ 1 ปีมี 12 เดือน ดังนั้น เวลา 1 ปีในปฏิทิน Sumerian จึงนาน 12x29.5 = 354 วัน (เวลาที่โลกใช้ในการโคจรรอบดวงอาทิตย์จริงๆ = 365.242199 วัน) ซึ่งทำให้ฤดูต่างๆ มาถึงเร็วกว่าที่ควรประมาณ 365-354 = 11 วัน ดังนั้น ปราชญ์ Sumerian จึงกำหนดเพิ่มเติมว่า หลังจากที่ใช้ปฏิทิน 3 ปี (เวลาเร็วไป 3x11 = 33 วัน) ให้เพิ่มเดือนพิเศษขึ้นมา 1 เดือน เพื่อให้ฤดูต่างๆ เริ่มตรงเวลา

ส่วนปฏิทินอิสลามนั้น ก็ได้กำหนดให้ 1 ปีมี 12 เดือน และเพราะนักดาราศาสตร์ชาวอาหรับรู้ว่า ดวงจันทร์ใช้เวลาในการโคจรรอบโลกนาน 29.5 วัน ดังนั้น ปฏิทินอิสลามจึงให้ 1 เดือน มี 29 วันบ้าง และ 30 วันสลับกันไป ด้วยเหตุนี้ 1 ปีจึงมี 12x29.5 = 354 วัน ซึ่งก็ไม่ตรงกับเวลา 365 วันที่ควรจะเป็น และไม่ต้องการจะให้เดือนหนึ่งๆ มีเวลามากกว่า 30 วัน ดังปฏิทิน Sumerian ปฏิทินอิสลามจึงกำหนดว่า เมื่อสิ้นปีที่ 3, 6, 8, 11, 14, 17 และ 19 ปฏิทินจะมีเดือนพิเศษขึ้นมา 1 เดือน ด้วยเหตุนี้ เวลา 1 ปีในปฏิทินอาหรับจึงอาจมี 354, 355, 383, 384 หรือ 385 วันก็ได้ นอกจากนี้ในการนับปีปฏิทินอาหรับได้กำหนดให้เริ่มนับจากวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 1165 ซึ่งเป็นวันที่ศาสดา Mohammed เสด็จจากเมือง Mecca ไป Medina ส่วนคนยิวเริ่มนับปีจากวันที่พระเจ้าทรงสร้างโลก (วันที่ 6 ตุลาคม ก่อน พ.ศ. 3218 ปี) และคนฮินดูเริ่มนับปีจากวันที่พระพรหมประสูติ เป็นต้น

คนจีนโบราณก็มีปฏิทินใช้เช่นกัน ประวัติศาสตร์ได้จารึกว่า เมื่อ 3,000 ปีก่อนนี้ จักรพรรดิ Yao ทรงโปรดให้โหรหลวงสร้างปฏิทิน โดยกำหนดให้ 1 ปีมี 354 วัน ซึ่งสอดคล้องกับเวลาทางจันทรคติคือ เวลาที่ดวงจันทร์ใช้ในการโคจรรอบโลก (12x29.5) และไม่ใช้เวลาทางสุริยคติ ซึ่งเป็นเวลาที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ (365) เลย โหรหลวงจึงกำหนดว่าทุก 19 ปีที่ใช้ปฏิทินจีนให้เพิ่มเดือนพิเศษอีก 7 เดือน แล้วจึงเริ่มปีต่อไป

และสำหรับคนมายา ซึ่งมีความรู้ดาราศาสตร์ค่อนข้างสูง ปฏิทินมายาได้กำหนดให้ 1 ปี มี 18 เดือน และ 1 เดือนมี 20 วัน ดังนั้น 1 ปีในปฏิทินมายาจึงมี 18x20 = 360 วัน และเพราะเดือนทุกเดือนนานเท่ากัน ดังนั้น ชาวมายาจึงตั้งชื่อเดือนทุกเดือน และวันทุกวันของปี นอกจากนี้ก็ได้เพิ่มวันพิเศษที่ไม่เป็นของเดือนใดๆ อีก 5 วันทุกปีไป

ส่วนชาวอียิปต์ ซึ่งตั้งถิ่นฐานในบริเวณแม่น้ำไนล์ และมีอาชีพเกษตรกรรมได้สังเกตเห็นว่า เมื่อครบปีน้ำในแม่น้ำไนล์จะท่วมฝั่งนำโคลนและปุ๋ยมาทับถมที่ดินทำนา เหตุการณ์น้ำท่วมที่เป็นวัฏจักรประจำปีเช่นนี้ ทำให้ชาวอียิปต์เมื่อ 6,240 ปีก่อนแบ่งปีออกเป็นฤดูคือ ฤดูน้ำท่วม ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูเก็บเกี่ยว และให้ 1 ปีมี 12 เดือน 1 เดือนมี 30 วันเท่ากันทุกเดือน ปฏิทินอียิปต์จึงต้องเพิ่มวันพิเศษอีก 5 วันในทุกปี

เมื่อถึงยุคโรมันเรืองอำนาจ เมื่อ 2,800 ปีก่อน ปฏิทินโรมันได้กำหนดให้ 1 ปีมี 10 เดือน โดยให้เดือนหนึ่งๆ มี 36 วัน หรือ 37 วัน เพื่อให้ปีหนึ่งมี 365 วัน และกษัตริย์ Numa Pomplius ทรงให้เดือนแรกของปีชื่อ Martius และเดือนที่สิบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น