วันเสาร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประวัติปฏิทิน ตอนที่ 2

ชื่อ December อีกทั้งให้วันขึ้นปีใหม่คือวันที่ 1 มีนาคมของทุกปี และทรงกำหนดเกณฑ์ใหม่ว่า เดือนหนึ่งๆ จะต้องมีวันไม่เกิน 31 วัน ดังนั้น จึงทรงกำหนดให้เดือนมีนาคม กรกฎาคม และตุลาคมมี 31 วัน ส่วนเดือนที่เหลือมี 29 วัน และเพราะจำนวนวันใน 1 ปียังไม่ครบ 365 วัน จึงกำหนดให้มีเดือนพิเศษอีก 2 เดือนคือ Januarius กับ Februarius ในขณะฤดูหนาวก่อนเดือน Martius ซึ่งเป็นช่วงเวลาพักผ่อนที่ผู้คนไม่ทำกิจกรรมใดๆ

การสร้างปฏิทินที่ค่อนข้างจะไร้หลักการนี้ ทำให้วันเฉลิมฉลองเทศกาลทางศาสนา เช่นวันอีสเตอร์บางปีตรงกับวันในฤดูร้อน แทนที่จะเป็นวันแรกของฤดูใบไม้ผลิ และเมื่อความคลาดเคลื่อนมีมากขึ้นๆ จักรพรรดิ Caesar จึงทรงมีบัญชาให้นักดาราศาสตร์ประจำราชสำนักชื่อ Sosigenes แห่งเมือง Alexandria สร้างปฏิทินใหม่ในปี พ.ศ. 498 โดยให้เลิกพิจารณาเวลาโคจรของดวงจันทร์ในการทำปฏิทิน และกำหนดเวลามั่นเหมาะใหม่ว่า 1 ปีต้องมี 12 เดือน และ 1 เดือนต้องมี 30 หรือ 31 วัน ส่วนเดือนกุมภาพันธ์นั้นให้มีเพียง 28 วัน เพราะถ้าเปลี่ยนแปลงใดๆ เทพเจ้าประจำเดือนซึ่งก็คือ ยมบาลอาจพิโรธได้ นอกจากนี้ก็ได้ทรงกำหนดใหม่ให้เดือนแรกของปีที่ชื่อ Januarius มี 31 วัน Februarius มี 28 วัน Martius มี 31 วัน Aprilis มี 30 วัน Maius มี 31 วัน Junius มี 30 วัน Quintilis มี 31 วัน Sextilis มี 30 วัน September มี 31 วัน October มี 30 วัน November มี 31 วัน และ December มี 30 วัน และให้ทุก 4 ปีมีการเพิ่มวันอีก 1 วันในเดือน Februarius นอกจากนี้ Caesar ยังทรงกำหนดให้วันที่ 1 มกราคมของทุกปี เป็นวันปีใหม่ ซึ่งมีผลทำให้เดือน December ซึ่งเคยเป็นเดือนที่ 10 ของปี (deci แปลว่า สิบ) กลายเป็นเดือนที่ 12 เดือน November (nove แปลว่า เก้า) กลายเป็นเดือนที่ 11 เดือน October (Octo แปลว่า แปด) กลายเป็นเดือนที่ 10 และ September (septa แปลว่า เจ็ด) กลายเป็นเดือนที่ 9 แทนตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา และเมื่อ Caesar ถูกปลงพระชนม์ ชาวโรมันได้เปลี่ยนชื่อเดือน Quintilis (quinta แปลว่า ห้า) เป็น Julius เพื่อเป็นเกียรติแด่องค์จักรพรรดิ Julius Caesar ของตน และ Julius นี้ได้กลายรูปเป็น July ในเวลาต่อมา

ปฏิทิน Julian ได้เริ่มใช้เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 498 และในปฏิทินนั้น วันที่ 25 มีนาคม คือวันเริ่มฤดูใบไม้ผลิ การล้มล้างปฏิทินเดิม การกำหนดกฎเกณฑ์การนับวัน เดือนใหม่ทำให้คนโรมันสมัยนั้นงุนงง และสับสนมาก เช่น การให้เดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน หรือ 29 วันก็ได้ และแทนที่จะให้มี 29 วันในทุก 4 ปี คนโรมันคิดว่าให้มี 29 วันในทุก 3 ปี การเข้าใจผิดในประเด็นนี้เป็นเวลานาน 50 ปี ทำให้วันเฉลิมฉลองเทศกาลต่างๆ ทางศาสนาไม่ตรงฤดูที่ควรเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้น จักรพรรดิ Augustus จึงทรงมีบัญชาให้มีการปฏิรูปปฏิทินอีก และให้เปลี่ยนชื่อเดือนที่หกจาก Sextilis (sext แปลว่า หก) เป็น Augustus ซึ่งได้กลายเป็น August ในเวลาต่อมา และให้เดือน Augustus มี 31 วันเท่าเดือน Julius ของ Caesar เพื่อแสดงว่าพระองค์ทรงมีพระบารมียิ่งใหญ่เทียบเท่า Caesar และเมื่อเดือน Julius Augustus และ September ทั้ง 3 เดือนเรียงกันต่างก็มี 31 วัน ซึ่งทำให้ทุกคน (ที่คอยรับเงินเดือน) รู้สึกว่ายาวนาน พระองค์จึงทรงกำหนดใหม่ให้ลดวันใน September เหลือ 30 วัน October มี 31 วัน November มี 30 วัน และ December 31 วันสลับกันระหว่าง 30 กับ 31 วัน ดังนั้น
ปฏิทินฉบับแก้ไขจึงมีเพียง Julius กับ Augustus และ December กับ Januarius ซึ่งเป็นสองเดือนติดกันเท่านั้นที่มี 31 วัน

เพราะ 1 ปีในปฏิทิน Julian มี 365 วัน แต่เวลา 1 ปีที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์นาน 365.242199 วัน ดังนั้น เวลา 1 ปีในปฏิทินจึงแตกต่างจากความเป็นจริงประมาณ 11 นาทีทุกปี นั่นหมายความว่า เมื่อเวลาผ่านไป 128 ปี เวลาก็จะแตกต่างไป 128x11 = 1,408 นาที = 23.47 ชั่วโมง หรือประมาณ 1 วัน และถ้าเวลาผ่านไปนาน 1,600 ปี เวลาก็จะผิดไปถึง 2 สัปดาห์ ซึ่งจะทำให้ผู้คนในอนาคตวุ่นวาย ดังนั้น เมื่อสันตะปาปา Gregory ที่ 13 พบว่าปฏิทิน Julian กำหนดให้วันอีสเตอร์ปี พ.ศ. 2125 ตรงกับวันที่ 11 มีนาคม แทนที่จะเป็นวันที่ 21 มีนาคม

พระองค์จึงมีบัญชาให้ปฏิรูปปฏิทินอีกในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2125 โดยได้กำหนดใหม่ว่าในเวลา 400 ปี ปฏิทินจะต้องมีปีอธิกสุรทิน 97 ครั้ง (ไม่ใช่ 100 ครั้ง) คือถ้าปีคริสต์ศักราชใดหารด้วย 4 ลงตัว ปีนั้นมี 366 วัน แต่ปีที่ครบคริสต์ศตวรรษใดเช่น 1700 1800 1900 ก็ให้มี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น